Souvenirs from Depressions
2016
ของที่ระลึก (Souvenir) โดยทั่วไปนั้นอาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเอาไว้เก็บให้นึกถึง เป็นตัวจูงใจให้เกิดการคิดถึง หรือนึกถึงเรื่องราวที่ได้เกี่ยวข้อง หรือใช้เป็นเครื่องเตือนความจำเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ที่เคยไปสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์และประเพณีบางอย่างที่ประกอประวัติศาสตร์เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา โดยของที่ระลึกใช้เป็นสื่อกระตุ้นหรือเน้นย้ำเพื่อหวังผลทางด้านความทรงจำ ให้คิดถึงหรือนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีตที่อาจกลับกระจ่างขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบัน
ส่วน Depression นั้น มีหลากหลายความหมายในแต่ละการใช้งาน อาจหมายถึงสภาวะของความเศร้าสลด ความตึงเครียดกดดันภายในจิตใจ ผลกระทบทางจิตวิทยาในด้านลบ ภาวะที่ไร้ความสุข ภาวการณ์ทุกข์ระทมจากเหตุการณ์สะเทือนใจที่ผ่านมา จนไปถึงการสิ้นหวังในอนาคตภายหน้า และเชื่อมต่อไปสื่อความหมายถึงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของในเชิงเศรษฐศาสตร์ ช่วงของข้าวยากหมากแพง ช่วงของการค้าขายที่มีความฝืดเคือง และในเชิงการพยากรณ์อากาศนั้นก็หมายถึง สภาพการกดอากาศต่ำ ช่วงมรสุม หรือสภาวะการแปรปรวนของอากาศ คลื่นลมมรสุมอีกด้วย
Souvenirs from Depressions ชื่อนิทรรศการในเจตจำนงของศิลปิน อานนท์ ไพโรจน์ นั้น เกิดขึ้นจากสภาวะที่ศิลปินต้องเดินทางไปทำงานในที่ต่างๆ ในไทยและรอบๆ ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งต้องพบเจอกับเรื่องราวและช่วงเวลาที่สะเทือนใจในมุมของศิลปินเอง ที่ต้องทำงานทั้งงานออกแบบ การเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำในรอบช่วง10ปีที่ผ่านมาให้กับกระทรวงพาณิชย์ในไทย การต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้โลกเคลื่อนที่ไปเร็วอย่างมากตามเทคโนโลยีและความไวของการค้า สวนทางกับความเป็นท้องถิ่นในแถบอาเซียนที่ยังมีชีวิตการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย วิถีชีวิตที่ช้าๆ หาเช้ากินค่ำ ท้องถิ่นที่ขาดความสะดวกสบายทางมาตรฐานสุขภาพชีวิต จนไปถึงระบบการศึกษาท้องถิ่นที่ไม่พัฒนา และเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลง การสูญเสีย ทางการเมือง การปกครองในไทย ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศ และสภาวะต่อจิตใจประชาชนในประเทศ
ระหว่างการลงพื้นที่ในการทำงานพัฒนางานออกแบบร่วมการชุมชนพื้นถิ่นในหลายๆ ที่ “ของที่ระลึก” เป็นหนึ่งสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นจากหลากหลายพื้นที่ที่ศิลปินได้เดินทางไปทำงาน จึงได้ตั้งคำถามถึงสิ่งที่เรียกว่า “ของที่ระลึก” ว่ามีนัยยะอย่างไร “ของที่ระลึก” โดยทั่วไปที่ชาวบ้านสร้างขึ้น ก็จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวดีๆ อันน่าจะจดจำในเรื่องราวต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ศิลปินรู้สึกว่า เรากำลังทำของที่ระลึกดีๆ เพื่อลบเลือนและปิดบังความทุกข์ระทมในใจของตนเอง และในแต่ละชุมชนที่ได้ไปเจอในช่วงเวลาที่อาเซียนแปรปรวนอย่างยิ่ง บางที่ทำตุ๊กตาช้าง ของที่ระลึกของประเทศไทย ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ได้เคยมีประสบการณ์ร่วมในการใช้ชีวิตร่วมกับช้างเลย ได้แต่ทำตามออเดอร์ที่มีนายทุนมาสั่งทำเท่านั้นเอง บางที่การแกะสลักสิ่งต่างๆ อันเป็นสิริมงคลปกป้องกันภัยต่างๆ โดยที่ตนเองทำงานที่อันตรายและไม่มีประสบการณ์ชีวิตร่วมด้วยเลยกับสิ่งที่ทำอยู่ ความระทมของศิลปิน จึงได้เริ่มต้น ตั้งคำถามว่า ถ้าของที่ระลึกนั้นมาจากการบันทึกประวัติศาสตร์สังคมเพื่อวันหนึ่งภายภาคหน้า จะได้สัมผัสถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ การทำงานร่วมระหว่างศิลปิน อานนท์ ไพโรจน์ และชุมชนชาวบ้านเล็กๆ ต่างๆ จะได้เกิดขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนนั้นได้สอดแทรกความรู้สึก ตัวตน ทัศนคติ และประสบการณ์ร่วมลงไปในการทำงานที่ศิลปินตั้งคำถามถึง สภาวะอันแปรปรวนในปัจจุบันที่มีร่วมกันระหว่าง ศิลปิน ชุมชน เศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมและปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเข้าออกปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองที่สร้างการค้าขายของที่ระลึกมากเป็นเมืองหนึ่ง ศิลปิน อานนท์ ไพโรจน์ จึงมีความประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอ นิทรรศการ “Souvenirs from Depressions” ณ แกลเลอรี่ ซีสเคป เชียงใหม่ โดยครั้งนี้จะเป็นการแสดงผลงานศิลปะที่ศิลปินรวบรวม “ของที่ระลึก” ที่ได้มาจากการเรียนรู้ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งรวมไปถึงสภาวะของประเทศที่มีวินาศภัย มีภัยพิบัติมากมาย มีแรงกดดันทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงประเทศ จนไปถึงสภาวะที่ความสุขลดน้อยลงทุกที แล้วรวบรวมชิ้นงานจากหลายๆ ส่วนนั้นเข้าด้วยกัน ศิลปินอยากบันทึกความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ลงไปในงานแต่ละชุดร่วมกับชุมชน ชาวบ้าน และผู้ประกอบการท้องถิ่น ให้ทุกคนได้ร่วมกันระลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกในความร่วมสมัยที่ผ่านมานี้ด้วยกัน.
ABOUT ARTIST
ANON PAIROT
อานนท์ ไพโรจน์
ANON PAIROT
In 1997, Anon graduated with a degree in mechanical engineering from King Mongkut's University of Technology North Bangkok (KMUTNB). He later shifted his focus from engineering to industrial design, enrolling in the Faculty of Architecture at King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMITL). He received a Ford Automobile Australia scholarship to learn the design and development for automobile in Melbourne. In 2006 he received a young generation designed development scholarship to had an internship at Royal Collage of Art University, London, England by the supported of TCDC, Prime Minister’s Office. From 2000, he started his career as a product designer from the success in the competitions for many brands; Samsung, Mitsubishi, ModernForm and PowerBuy. He started his first full-time work as curator and design director at Srivikorn Group Holding. At this stage in his career, he primarily focused in the areas of research and development for All Living shop and Restrogent Bangkok. At the age of 23, he also a guest designer for many brands such as Planet 2001 Co.,Ltd, Kalser Porzlaine Gmbh (Germany), Lamptitude, Kenkoon, Plato, Kun etc. His creativity had been awarded and displayed to the international level which included Salon Sattelite, Macef Desing Awards, Red Dot Germany, Best of the Best Furniture Chair of the Year 2007 from Singapore Furniture Industry Council, Wallpaper- Awards, Habitat Exhibition with Tom Dixon, Paris Talent A La Cart 2004, Face of Designer of the year 2011. These brought him an invitation from Alexander Von Vegesack, Chairman of the Boards Vitra Design Museum in France to be a representative at the Boisbuchet Workshop at CIGE, China.
He was honored by Thailand’s Fine Arts Department for the award of SilpaBhirasri as the best designer of the year 2008 - 2009. With this success, he was invited from the Bangkok Metropolitan Administration and Siam Cement Group to design contemporary sculptures and curated the project “Follow the King’s Speech” for the occasion of King’s 84th birthday on December 5th, 2011 under the control of Bureau of the Royal Household and Ministry of Culture, Kingdom of Thailand.
In 2007, he founded his own design studio, the Anon Pairot Design Studio. His business provided interior designs, the designs and consultant with business strategy, design development for sustainable business. He had a willing to merge the designs with marketing, economy and cultures. Now ha has clients from all over places such as Fendi, Matraz, Vitra Design Museum, Boibuchet, Phillipe Morris, Diagio Moet, Heineken, Bacadi, 42Below, Johnnie Walker, Sansiri, Noble Development, Siam Center, Hive65, Casa de La Flora Boutique Hotel, Grohe, Vitra Bathroom, Bath&Spa, Sofitel,W Hotel Group, Park Ventures, Paradini, Moban, IKSV, Hardrock Cafe Group, Maurice Lacroix etc. In 2012, Anon Pairot Design Studio had expand to the product design service and planning creative strategy to the society and environment. He was named as a planning and consultant creative activity for cooperate social responsibility, Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce, Thailand. He was also be a committee of Prime Minister Award 2013 - 2014 in the category of Innovation and Environment.
He was selected by the Philippine’s government, CITEM, to be one of the dynamic international designer of 2013 for Global Designer Exhibition. He had a showcase with a French designer, Arik Levy, in Manila. Furthermore, at the same year, he was announced as a new- face designer from the National Arts Council, Singapore, and showed his talents at Singapore Art Biennale 2013, Singapore Art Museum and a talk “If The World Change” 2014, he was selected as Milan Hilight Design from Elle France for “Zatellite”, a lighting collection, with a brand Schema. He has a special collection with Kenneth Cobonpue. He designed an exclusive collection for Absolute Vodka Designer 2014. Curator and founder of young-blood designers named Asia Talents. The community of contemporary Asian designers who merged the knowledge of local idea and new technology. He has a chance to work with Wataru Sakuma, a Japanese designer, with a project of DEWA : Design from Waste of Agriculture supported by Thai government. This project will also help the learning of recycle local waste to be products from the potential of local people.